น้ำมีความสำคัญกับทุกคนที่ต้องใช้แรงกาย มิได้มีความสำคัญแค่เพียงนักกีฬาเท่านั้น เช่น บุคคลที่ทำงานก่อสร้าง ผู้ที่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่มีชีวิตประจำวันที่ออกกำลังโดยมีเหงื่ออกเป็นต้น
หากไม่ให้ความสำคัญกับน้ำดื่มสำหรับผู้ใช้แรงกาย ประสิทธิผลในงานก็อาจไม่สมความปรารถนาได้ หากต้องการประสิทธิภาพสูงสุดจากแรงกาย จะต้องละเอียดรอบคอบเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในนักกีฬาบางครั้งอาจมีผลถึงแพ้ได้เลย โดยเฉพาะในตอนท้ายๆเกมการแข่งขันหากร่างกายมีความไม่สมดุลของน้ำในร่างกายเกิดขึ้นทั้งก่อนและระหว่างการแข่งขัน ทำให้เกิดปัญหาแก่นักกีฬาและทีมกีฬาได้
น้ำเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญมากแม้น้ำจะไม่ได้อยู่ในอาหารหลัก 5 หมู่ แต่ก็มีความจำเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ เราไม่สามารถฝืนร่างกายให้เก็บน้ำไว้มาก ๆได้ ถ้าดื่มน้ำมากเกินไปก็จะทำให้ปัสสาวะบ่อยเพื่อขับน้ำส่วนเกินออกไป
ร่างกายของคนเราประกอบด้วยน้ำร้อยละ 65 - 75 ของน้ำหนักตัว น้ำในร่างกายแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
- น้ำภายในเซลล์ (Intracellular water :ICW) ซึ่งเป็นองค์ประกอบเป็นส่วนใหญ่
- น้ำนอกเซลล์ (Extracellular water :ECW) ซึ่งได้แก่ น้ำเลือด น้ำเหลือง น้ำลาย ของเหลวในตา น้ำย่อย ฮอร์โมน และของเหลวที่หลั่งจากลำไส้ ไต เป็นต้น
โดยทั่วๆไปคนเราจะได้รับน้ำจาก 3 ทาง คือ
1. น้ำดื่ม ผู้ใหญ่ควรได้รับน้ำวันละ7-8 แก้ว ในระหว่างออกกำลังกายความต้องการน้ำอาจเพิ่มเป็น 5 - 6 เท่าของปกติ
2. น้ำจาก ผัก ผลไม้ ที่มีน้ำในปริมาณมาก และลักษณะของอาหาร
3. น้ำจากกระบวนการเผาผลาญในร่างกาย เมื่ออาหารเข้าสู่ร่างกาย โมเลกุลของอาหารจะถูกย่อยสลายให้ได้พลังงาน ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำ น้ำซึ่งเกิดจากกระบวนการดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 25 ของความต้องการน้ำต่อวันในคนปกติทั่วไป
ทำไมจึงต้องดื่มน้ำโดยเฉลี่ยวันละ 7-8 แก้ว
บทบาทของน้ำต่อร่างกาย
- ช่วยรักษาอุณหภูมิของร่างกาย
- เป็นตัวทำละลาย นำพาสารต่างๆไปสู่อวัยวะต่างๆของร่างกาย
- ช่วยขนส่งสารต่างๆในร่างกายเช่น อาหาร ฮอร์โมน ฯลฯ
- ช่วยรักษาความสมดุลของร่างกายเอาไว้
- ช่วยกระจายก๊าซออกซิเจน(O2) และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ผ่านผนังเซลล์
- ช่วยปรับสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
- ช่วยขับถ่ายของเสียต่างๆ เช่น ปัสสาวะ อุจจาระ
- ทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสประสาท เป็นผลให้มีการหดตัวของกล้ามเนื้อต่าง ๆ
การออกกำลังกายหนักแล้วน้ำหนักลดลง 2-3 กิโลกรัมภายใน1-2 วัน มักเป็นน้ำเสียส่วนใหญ่ ไม่ใช่ไขมันดังที่เข้าใจกัน หลังการรับประทานอาหารตามปกติ 1-2 วันน้ำหนักก็จะใกล้เคียงเดิมอีก
การสังเกตอาการขาดน้ำของร่างกายทั้งก่อนและหลังกิจกรรมที่หนักและเหนื่อยมากกว่าปกติ
- ปัสสาวะมีสีเข้มและปริมาณน้อยกว่าปกติ
- ผิวหนัง ปาก และคอแห้งกว่าปกติ
- กระหายน้ำบ่อย
- อุณหภูมิกายสูงกว่าปกติ เพราะมีน้ำช่วยระบายความร้อนในรูปของเหงื่อลดน้อยลง
- เป็นตะคริวในขณะใช้แรงกายอย่างต่อเนื่อง
ผลของการออกกำลังกายต่อภาวะการขาดน้ำ
ในช่วงที่มีการออกกำลังกาย ร่างกายจะสูญเสียน้ำส่วนใหญ่ทางเหงื่อ ซึ่งปริมาณที่สูญเสียนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหนัก-เบาของการใช้แรงกาย อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม และความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศโดยรอบ ในวันที่อากาศแห้งการระเหยของเหงื่อที่ผิวหนังจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และการรับความชื้นของอากาศรอบ ๆ จะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพทำให้ร่างกายควบคุมอุณหภูมิได้ดี แต่ถ้าหากการออกกำลังกายที่ยาวนานในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน การเสียเหงื่อทำให้เกิดภาวะการขาดน้ำ
การชดเชยน้ำที่เสียไปในเหงื่อ
อาจมีคำถามว่า จำเป็นหรือไม่ที่นักกีฬาควรดื่มเครื่องดื่มประเภท“Sports Drink” หรือ “เครื่องดื่มเกลือแร่”ในช่วงที่กระหายน้ำ โดยข้อเท็จจริงตามหลักฐานจากการวิจัยพบว่าเหงื่อประกอบด้วยน้ำ 99% และอีก 1 % เป็นอิเล็กโทรไลต์ การดื่มน้ำเย็นจะให้ผลดีที่สุด เนื่องจากเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลและเกลือแร่โดยเฉพาะในความเข้มข้นสูงๆ ของเหลวจะไหลผ่านกระเพาะอาหารช้าลง ดึงน้ำจากหลอดเลือดเข้าสู่กระเพาะอาหารและลำไส้มากขึ้น จึงเป็นผลเสียแก่นักกีฬา ทำให้เกิดภาวะขาดน้ำเพิ่มขึ้นส่งผลทำให้สมรรถภาพทางกายลดลง
การดื่มน้ำชดเชยทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใช้แรงกาย
1. ในนักกีฬา ก่อนการฝึกซ้อมหรือใช้แรงกายอย่างหนัก ควรได้รับอาหารที่สมดุลน้ำให้เพียงพอ ก่อน 24 ชั่วโมงเพื่อเตรียมรับการขาดน้ำ
2. ก่อนการฝึกซ้อม 2 ชั่วโมง ควรดื่มน้ำประมาณ 500 มิลลิลิตร(C.C.) เพื่อเตรียมร่างกายมิให้ขาดน้ำและให้ร่างกายมีเวลาที่จะขับน้ำออก ในวันที่มีอากาศร้อนให้ดื่มเพิ่มอีก 250-500 มิลลิลิตร ในช่วง30 นาทีก่อนแข่ง
3. ในระหว่างการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน ควรดื่มน้ำเป็นระยะ เพื่อชดเชยกับการเสียน้ำทางเหงื่อ โดยเลือกเครื่องดื่มที่เย็นๆ ให้ดื่ม 150- 250 มิลลิลิตร ทุก 15-20 นาที
4. น้ำดื่มอัลคาไลน์(น้ำด่าง) ช่วยเพิ่มออกซิเจนในเลือด ลดกรดในเลือด ปรับสมดุลของร่างกาย น้ำดื่มชนิดนี้เป็นประโยชนต่อนักกีฬามากๆ
5. การดื่มน้ำชดเชย สามารถจิบบ่อยๆได้ตลอดเวลา ไม่ควรรอให้กระหายเสียก่อน เพราะการกระหายน้ำเป็นอาการที่ร่างกายได้ขาดน้ำไปล่วงหน้าแล้วนั่นเอง
6. หลังการฝึกซ้อมหรือแข่งขัน ควรดื่มน้ำชดเชยในปริมาณ 150 %ของน้ำที่สูญเสียไป โดยดื่มครั้งละ 100-150 C.C.ไปเรื่อยๆใน 24 ชั่วโมงแรกเพื่อชดเชยน้ำที่เสียไป และป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับร่างกาย หรือเพื่อการแข่งในนัดต่อไปข้างหน้า
7. การกินน้ำตาลฟรุกโตสชดเชย ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันทีอย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่ร่างกายไม่หลั่งอินสุลินฮอร์โมนมาเก็บน้ำตาลเข้าเซลล์ ผลไม้ที่ให้น้ำตาลฟรุกได้แก่ แตงโม กล้วยหอม น้ำมะพร้าวอ่อน ส้ม เป็นต้น
น้ำเป็นส่วนหนึ่งสำคัญของร่างกายเพราะ ร่างกายต้องก็พึ่งน้ำ เหมือนกัน ดังนั้นการดื่มน้ำ ทำให้เรามีแรง ทดแทนกับสิ่งที่ขาดหายไปนั้นเอง โดยเฉพาะนักกีฬาหรือคนที่เสียเหงื่อเป็น จำนวนมาก
ด้วยความปราถนาดีจาก น้ำดื่มอัลคาไลน์ (น้ำด่าง) ตราแมนเนเจอร์ (Alkaline Water pH8.5+ By ManNature)
อ่านบทความเพิ่มเติม
ขอขอบคุณข้อมูจากhonestdocs
Tag :
บทความที่แนะนำ