น้ำดื่ม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเริ่มต้นที่จะมีสุขภาพที่ดี หากน้ำดื่มที่คุณบริโภคเข้าไปทุก ๆ วันในชีวิตประจำวันของคุณนั้นไม่สะอาดอาจจะทำให้เป็นสาเหตุของการเกิดโรคต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย น้ำดื่ม ดูอย่างไรว่าปลอดภัยนั้นง่ายนิดเดียว
น้ำดื่มที่สะอาดและปลอดภัย
1.น้ำดื่มที่ค่าความเป็นกรด – ด่าง
น้ำดื่มที่มีค่าเป็นกรด – ด่าง ต้องมีค่า 6.5 – 8.5 ซึ่งมีความเป็นกรด – ด่างแค่เพียงเล็กน้อยถึงจะสามารถบริโภคได้ไม่เป็นอันตราย ถ้ามีค่าความเป็นกรด – ด่างมากกว่านี้ไม่ควรบริโภคเพราะอาจจะทำให้มีอันตรายต่อร่างกายได้
2. น้ำตู้หยอดเหรียญ
จากการตรวจสอบคุณภาพน้ำของกรมอนามัย พบว่า มีคุณภาพที่เหมาะสมสำหรับการบริโภค ร้อยละ 40 โดยน้ำประปาตู้หยอดเหรียญ หรือน้ำบรรจุถัง 20 ลิตร มีความเหมาะสมกับการบริโภคแต่ต้องพิจารณาดูปัจจัยรอบ ๆ ตู้หยอดเหรียญด้วยว่ามีปัจจัยใดที่ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่
3. น้ำประปา
การตรวจวัดมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาดื่มได้ กรมอนามัยยกระดับมาตรฐานน้ำประปาทั้งด้านกายภาพ แบคทีเรีย เคมี ค่าความเป็นกรด – ด่าง ทำให้สามารถมั่นใจได้ว่าน้ำประปามีคุณภาพ แต่ต้องดูสภาพของถังเก็บน้ำ ก๊อกน้ำ สายยางน้ำ และอุปกรณ์อื่น ๆ ให้คงอยู่ในสภาพที่ได้มาตรฐานด้วย
โรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่ม
1. น้ำฝน
การบริโภคน้ำฝนในปัจจุบันไม่ได้บ่งบอกถึงความปลอดภัยแล้ว เพราะชั้นบรรยากาศเต็มไปด้วยคาร์บอนไดออกไซด์หนาแน่น เมื่อก๊าซดังกล่าวรวมตัวกับน้ำฝนจะทำให้เกิดกรดคาร์บอนิก ทำให้น้ำฝนนั้นกลายเป็นน้ำกรดอ่อน ๆ ที่มีรสชาติเปรี้ยวแล้วยังส่งผลเสียต่อสุขภาพ
2. น้ำกลั่น
น้ำกลั่นเป็นน้ำที่มีความบริสุทธิ์ ทางการแพทย์ใช้ในการเตรียมสารละลายต่าง ๆ ได้แก่ ทำน้ำเกลือ แต่น้ำกลั่นก็เป็นน้ำที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ถ้าคุณดื่มเข้าไปจะทำให้ร่างกายต้องดึงแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกายออกมาใช้จึงทำให้ร่างกายของคุณสามารถขาดแร่ธาตุได้ จนอาจจะก่อให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
3. น้ำดื่มที่ภาชนะไม่ได้มาตรฐาน
ถ้าการบรรจุน้ำดื่มลงในขวดที่ไม่ได้มาตรฐาน ก็อาจจะพบสารปนเปื้อน เช่น พลาสติก ฯลฯ ควรเช็กให้แน่ใจว่าขวดที่นำมาบรรจุน้ำดื่มนั้นได้มาตรฐานและผ่านการตวรจสอบุณภาพในทุกขั้นตอนการผลิต
4.น้ำประปา
น้ำประปาที่มีปริมาณไตรฮาโลมีแทนสูงเกินไป ก็อาจจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ โดยสารไตรฮาโลมีแทนนั้นคือสารที่เกิดจากสารอินทรีย์ที่ทำปฏิกิริยากับคลอรีนที่มีอยู่ในน้ำประปา ปกติแล้วมาตรฐานของระดับไตรฮาโลมีแทนในน้ำประปาของแต่ละประเทศจะไม่เท่ากัน ประเทศไทยไม่พบสารไตรฮาโลมีแทนในการใช้น้ำประปาสามารถดื่มและนำมาประกอบอาหารได้
สัญญาณเตือนหากดื่มน้ำน้อย
- กระหายน้ำ
- ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม – สีส้มเป็นประจำ
- ปากแห้ง
- ปัสสาวะไม่ถึง 4 ครั้งต่อวัน
- ท้องผูก
- ตาแห้ง
- ระบบย่อยอาหารมีปัญหา
- ผิวแห้ง ริ้วรอยมาก่อนวัยอันควร
หากดื่มน้ำมากเกินไป
หากดื่มน้ำมาก จนเกินไป ทำให้มีผลเสียต่อร่างกาย เพราะการดื่มน้ำทีละมาก ๆ จะเป็นการสร้างภาระให้ไตที่ต้องกำจัดน้ำส่วนที่เกินคามจำเป็นต่อร่างกายออกไป ไตจะทำงานหนักขึ้น เพราะต้องใช้เวลาในการขับน้ำส่วนเกินเพื่อสร้างสมดุลให้กับร่างกายในเวลาจำกัด หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับไตอยู่แล้วการดื่มน้ำมากเกินไปจะยิ่งทำให้อันตรายต่อสุขภาพได้ แต่หากคุณมีร่างกายที่แข็งแรง 100% การที่คุณดื่มน้ำมากเกินไปอย่างต่อเนื่องก็อาจจะทำให้คุณเกิดอันตรายได้เช่นกัน
ดื่มน้ำอย่างไรให้เหมาะสม
โดยปกติทั่วไปแล้ว ควรดื่มน้ำ 8 แก้วต่อวันสำหรับทุกเพศทุกวัย แต่จริง ๆ แล้วนั้นการดื่มน้ำของแต่ละคนไม่เท่ากันอยู่ที่รูปร่าง น้ำหนัก สุขภาพและกิจกรรมในแต่ละวัน วิธีสังเกตว่าดื่มน้ำเพียงพอต่อร่างกายหรือไม่ให้ดูจากสีปัสสาวะ ถ้ามีสีเหลืองเข้ม – สีส้ม แสดงว่าคุณดื่มน้ำไม่สมดุลกับการใช้ชีวิตและรูปร่างของคุณ กลิ่นของปัสสาวะก็สำคัญเช่นกัน หากมีกลิ่นปัสสาวะที่ฉุนแสดงให้เห็นว่าคุณนั้นดื่มน้ำน้อยเกินไป นอกจากนี้ จำนวนครั้งในการปัสสาวะระหว่างวันก็สำคัญเช่นกัน ปกติแล้วคนเราควรปัสสาวะ 3 – 4 ครั้ง ถ้าคุณดื่มน้อยไปกว่านี้แสดงว่าคุณอาจจะดื่มน้ำน้อยเกินไป ซึ่งส่งผลอันตรายต่อกระเพาะปัสสาวะและไตของคุณด้วย
อย่างไรก็ตาม การดื่มน้ำสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก การบริโภคจึงไม่ควรมากเกินไปหรือน้อยเกินไป รักษาสมดุลที่ดีให้กับร่างกายเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ
สุขภาพที่ดี เริ่มได้ที่ตัวคุณ ด้วยความปรารถนาดีจาก น้ำดื่มอัลคาไลน์ (น้ำด่าง) ตราแมนเนเจอร์ (Alkaline Water pH8.5+ By ManNature)
ขอขอบคุณข้อมูลจาก sanook
อ่านบทความเพิ่มเติม
Tag :
บทความที่แนะนำ