การทำ น้ำอัลคาไลน์ ต่างจากน้ำดื่มชนิดอื่นอย่างไร
Share: facebook_share การทำ น้ำอัลคาไลน์ ต่างจากน้ำดื่มชนิดอื่นอย่างไร line_share การทำ น้ำอัลคาไลน์ ต่างจากน้ำดื่มชนิดอื่นอย่างไร twitter_share การทำ น้ำอัลคาไลน์ ต่างจากน้ำดื่มชนิดอื่นอย่างไร messenger_share การทำ น้ำอัลคาไลน์ ต่างจากน้ำดื่มชนิดอื่นอย่างไร

การทำ น้ำอัลคาไลน์ ต่างจากน้ำดื่มชนิดอื่นอย่างไร


กระบวนการผลิต น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ แต่ละชนิด มักจะมีกระบวนการเพิ่มเติม หลังจากการทำให้น้ำดื่ม กลายเป็นน้ำสะอาดแล้ว ซึ่งสำหรับ น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) จะมีกระบวนการใดเพิ่มเติมในการผลิตน้ำ และแตกต่างจาก น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ ชนิดอื่นอย่างไร มาติดตามกันครับ

 

ในปัจจุบัน ธุรกิจเกี่ยวกับน้ำดื่มและเครื่องดื่ม มีการผลิตและจัดจำหน่าย น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ มาแข่งกันในตลาดน้ำดื่ม เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ที่หันมาดูแลสุขภาพกันมากขึ้น จนเกิดเป็น กระแสรักสุขภาพ   น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ ที่ออกมาวางจำหน่ายตามร้านสะดวกซื้อทั่วไป หากไม่มีฉลากติดบรรจุภัณฑ์เอาไว้ แน่นอนว่า หลายคนต้องไม่ทราบแน่ว่า น้ำดื่มแต่ที่วางขายเป็นชนิดใด และแตกต่างกันอย่างไร เพราะ น้ำดื่มเพื่อสุชภาพ ล้วนมีความใส เหมือนกับ น้ำเปล่า กันไปหมด ถึงแม้ว่า น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ ทั้งหลาย จะมีลักษณะของน้ำที่ใส สะอาดเหมือนกันหมด แต่น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ แต่ละชนิด ล้วนมีกระบวนการผลิต ที่แตกต่างกันไป ตามชนิดของน้ำดื่ม ดังนี้

 

กระบวนการผลิต น้ำอัลคาไลน์

 

 

 

เป็นน้ำดื่มจากธรรมชาติ ที่นำมาผ่าน กระบวนการแยก องค์ประกอบทางเคมีของน้ำ โดยใช้ไฟฟ้าเข้ามาเป็นสิ่งที่ช่วย หรือที่เป็น กระบวนการ อิเล็กโทรลิซิส ( Electrolysis ) ซึ่งเป็นการทำด้วยวิธีที่ซับซ้อน โดยการปล่อยกระแสไฟฟ้า โดยตรงไปในน้ำ ผ่านแผ่นตัวนำไฟฟ้าขั้วลบ ทำให้ได้ น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) หรือ น้ำด่าง ที่มีกลุ่มโมเลกุล ในน้ำจะลดลง จากปริมาณ 11 - 13 โมเลกุล ต่อกลุ่ม ให้ลดเหลือเพียง 6 โมเลกุลต่อกลุ่มน้ำเท่านั้น ซึ่งมีขนาดโมเลกุล เล็กกว่าน้ำธรรมดาทั่วไป

 

จากกระบวนการผลิตน้ำที่ผ่าน กระบวนการ อิเล็กโทรลิซิส ( Electrolysis ) โดยการปล่อย กระแสไฟฟ้าตรง ไปในน้ำ ผ่านแผ่นตัวนำไฟฟ้าขั้วลบ ทำให้ได้ น้ำอัลคาไลน์ ( Alkaline Water ) หรือ น้ำด่าง ที่มีประจุลบ และแร่ธาตุอัลคาไลน์ ที่มีความเป็นด่าง จากกระบวนการทำน้ำชนิดนี้ ได้แก่ แคลเซียม, โซเดียม, แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ซึ่งถือได้ว่า เป็นแร่ธาตุที่จำเป็นอย่างมากต่อร่างกาย

 

กระบวนการผลิต น้ำแร่

 

น้ำดื่มที่ได้ มาจากแหล่งน้ำ ธรรมชาติ เช่น ตามหุบเขา หรือชั้นใต้ดิน แล้วนำน้ำเหล่านี้ ไปผ่านการฆ่าเชื้อ และรักษาคุณประโยชน์ต่าง ๆ ของน้ำ โดยผ่าน วิธีการผลิตขั้นสูง เพื่อการรักษา แร่ธาตุที่มีประโยชน์ไว้ ได้แก่ แคลเซียม, แมกนีเซียม, โซเดียม, โพแทสเซียม, คลอไรต์, เหล็ก, ซัลเฟต และไบคาร์บอเนต ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้ เป็นแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และน้ำแร่ จากแหล่งน้ำ แต่ละแห่ง ก็จะมีส่วนประกอบมาก หรือน้อยของแร่ธาตุ แตกต่างกันไป

 

กระบวนการผลิต น้ำดื่มผสมวิตามิน

 

น้ำดื่มชนิดนี้ แตกต่างกับน้ำดื่มธรรมดา ก็คือ การผสมวิตามินชนิดต่าง ๆ ลงไปเพิ่มในน้ำ ง ซึ่งแต่ละแบรนด์ จะมีชนิดของ วิตามินที่ผสม อยู่ด้วยแตกต่างกันไป เช่น  วิตามินบี 1, วิตามินบี 3, วิตามินบี 6, วิตามินบี 9, วิตามินบี 12 , วิตามินซี เป็นต้น

 

ผู้ผลิตน้ำดื่มผสมวิตามิน บางราย มีการชูจุดขาย ให้แตกต่าง จากเจ้าอื่น เช่น ใช้เป็นน้ำแร่ผสม วิตามินแทนน้ำดื่ม บางรายมีการใส่แร่ธาตุที่จำเป็น ลงไปเพิ่มเติม หรือบางรายมีการเพิ่มกลิ่น ของน้ำดื่มลงไปด้วย โดยน้ำดื่ม ประเภทนี้ ส่วนใหญ่ ไม่มีแคลอรี่และน้ำตาล หรือจะเรียกได้ว่า “มีแคลอรี่ และน้ำตาล 0 % หรือไม่มีโซเดียม นอกจากนี้ อาจมีการเติมกลิ่นอ่อนๆ เพื่อให้รู้สึกสดชื่นมากขึ้น อีกด้วย

 

กระบวนการผลิต น้ำ RO

 

เป็นน้ำดื่มที่ผ่านการกรองน้ำระดับสูงด้วย เครื่องกรองน้ำ ระบบ RO ( Reverse Osmosis ) ซึ่งเป็น เครื่องกรองน้ำ ที่มีประสิทธิภาพ ในการกรองสูง เนื่องจาก มีการกรองแบบ 5 ขั้นตอน ระบบมีหลักการทำงาน โดยใช้แรงดันน้ำ ผ่านไส้กรองเมมเบรน ที่มีความสะอาดสูง ทำให้กรองได้ละเอียดที่สุด จึงสามารถ กรองสิ่งสกปรก แบคทีเรีย ไวรัส และ สารปนเปื้อนอื่น ๆ ได้ รวมถึงแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นต่อร่างกายออกไปได้ ทำให้ได้น้ำที่ มีความสะอาด และ บริสุทธิ์อย่างมาก หากต้องการให้น้ำ RO ( Reverse Osmosis ) เป็นด่าง จะต้องเพิ่มแคลเซียม และ แร่ธาตุอื่น ๆ เข้าไปในน้ำ โดยจะต้องผลิตผ่าน เครื่องผลิตไอออน

 

ถึงแม้ว่า น้ำดื่มเพื่อสุขภาพ เหล่านี้ จะมีกระบวนการผลิตน้ำดื่ม ที่แตกต่างกันไป แต่สิ่งที่น้ำดื่มเหล่านี้ มีเหมือนกัน คือ น้ำดื่มมีความสะอาด บริสุทธิ์ และมีค่า pH ของน้ำดื่มที่เหมาะสม กับร่างกายเรา ซึ่งไม่ว่าคุณจะเลือกดื่ม น้ำดื่มเพื่อสุขภาพชนิดใดก็ตาม ล้วนให้ประโยชน์ต่อร่างกาย ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก และสามารถดื่มแทน น้ำเปล่าได้

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม

5 พฤติกรรม การดื่มน้ำ ที่เราไม่ควรทำ

9 วิธีที่ทำให้เราดื่มน้ำได้มากขึ้น


บทความที่แนะนำ